วันอังคารที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2552

กาฬโรค คืออะไร

กาฬโรคปอด (Pneumonic Plague)

อาการของโรค กาฬโรคปอด : อาการทันใด ไข้สูง หนาวสั่น ปวดหัวรุนแรง อาการไอเกิดขึ้นใน 24 ชั่วโมง เสมหะตอนแรกเหนียวใสแล้วกลายเป็นสีสนิมหรือแดงสด มักไม่มีปื้นแผลในปอด ถ้าไม่รักษา : ตายภายใน 48 ชั่วโมง
การวินิจฉัยแยกโรค : ปอดบวมจากเชื้อแบคทีเรีย Pneumococci หรือตัวอื่น
สาเหตุ กาฬโรคปอด : มาจากเชื้อแบซิลไล Yersinia pestis
การวินิจฉัยทางห้องปฏิบัติการ : ระมัดระวังเรื่องความปลอดภัย เก็บเสมหะ ย้อมสีกรัมและเพาะเชื้อในอาหารเพาะเลี้ยงธรรมดา
ระยะฟักตัว กาฬโรคปอด : ประมาณ 2-3 วัน
การแพร่เชื้อ กาฬโรคปอด : แพร่ได้ง่ายทาง droplet จากทางเดินหายใจและสิ่งของที่เพิ่งปนเปื้อนเชื้อโรคใหม่ๆ
การเกิดโรค กาฬโรคปอด : เป็นอาการแทรกซ้อนของกาฬโรคต่อมน้ำเหลือง (ดูกาฬโรคต่อมน้ำเหลือง) หรืออาจจะเป็นการติดเชื้อครั้งแรก
การรักษา กาฬโรคปอด : รักษาด้วยยา streptomycin tetracycline หรือ chloramphinicol
การควบคุม กาฬโรคปอด : แยกกักผู้ป่วยอย่างเข้มงวดยิ่ง

ประวัติการระบาดในประเทศไทย
นายแพทย์ เอช แคมเบล ไฮเอ็ด เจ้ากรมแพทย์สุขาภิบาล ( Principal Medical Officer of Bangkok City) ได้รายงานการกาฬโรคครั้งแรกในประเทศไทย เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2447 เกิดขึ้นที่บริเวณตึกแดงและตึกขาว เป็นโกดังเก็บสินค้า จังหวัดธนบุรีเป็นที่อยู่ของพ่อค้าชาวอินเดียแล้วระบาดเข้ามาฝั่งพระนคร จากนั้นกระจายไปยังจังหวัดต่าง ๆ ที่มีการติดต่อค้าขายกับกรุงเทพฯ โดยทางบก ทางเรือและทางรถไฟ ไม่มีสถิติจำนวนผู้ป่วยตายที่แน่นอน รายงานปรากฏก่อนปี พ.ศ. 2456 ที่จังหวัดนครปฐมมีคนตาย 300 คน ครั้งสุดท้ายเมื่อปี พ.ศ. 2495 มีรายงานผู้ป่วย 2 รายตาย 1 ราย ที่ตลาดตาคลี จากนั้นไม่มีรายงานกาฬโรคเกิดขึ้นในประเทศไทยจนปัจจุบันนี้